แนวทางการบูรณาการ
การจัดการเรียนการสอนเรื่อง การปลูกผักในภาชนะสามารถเชื่อมโยงหรือบูรณาการสาระความรู้กับรายวิชาอื่นๆ ได้ดังนี้
ภาษาไทย การแสดงความคิดเห็น การตอบคำถาม การพูดรายงานเกี่ยวกับชนิดของพืชประเภทของพืชและภาชนะและวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
คณิตศาสตร์ การจัดพื้น ต้นทุนและจำนวนของพืชในการปลูกผักในภาชนะ
วิทยาศาสตร์ การศึกษาลักษณะที่สำคัญและส่วนประกอบต่างๆ ของพืชและกระบวนการเจริญเติบโต
สังคมศึกษาฯ การประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการปลูกพืชและศึกษาความรู้เกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรต่างๆ
สุขศึกษาฯ การวางแผนพัฒนาสุขภาพของตนเองและครอบครัวการเชื่อมความสัมพันธ์กับการทำกิจกรรมระหว่างครอบครัว
ภาษาต่างประเทศ ศึกษาคำศัพท์เกี่ยวกับพืชและวัสดุอุปกรณ์ ภาชนะที่เกี่ยวของกับการปลูกพืช ขั้นตอนการปลูกพืช สามารถสนทนาเกี่ยวกับขั้นตอนการปลูกพืชได้
ความพอประมาณ
- วัสดุที่ใช้ เอาของเหลือใช้นำกลับมาเป็นภาชนะของการปลูกพืช
- ปลูกพืชพอสมควร ปลูกพอเหมาะกับการรับประทาน
- พื้นที่ในการเพาะปลูกพืชเพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์
- การปลูกพืชไม่ต้องใช้สารเคมีซึ่งเป็นการทำลายธรรมชาติ
- คุณค่าทางสารอาหารตามต้องการ
มีเหตุผล
- พืชส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกจึงเหมาะกับการปลูกในภาชนะ
- สามารถเลือกดินที่เหมาะสมกับพืชชนิดต่างๆได้
- การปลูกพืชในภาชนะสามารถเคลื่อนย้าย และจำกัดพื้นที่ได้
- การนำไปอุปโภคบริโภค
มีภูมิกันที่ดี
- ปลูกจิตสำนึกรู้จักการเอาวัสดุที่ไม่ใช้แล้วนำกลับมาทำเป็นภาชนะในการปลูกพืช
- รู้จักคิดประยุคประโยชน์จากการปลูกพืชมาใช้ในการดำรงชีวิต
- การมีความสุขกับการปลูกพืช
- รักษาวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนๆ
- การปลูกฝังให้เยาวชนมีพฤติกรรมพอประมาณ มีเหตุผลอย่างต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย และกลายเป็นภูมิคุ้มกันในตัวเองที่ดี
เงื่อนไขที่ 1 ความรู้
ความรอบรู้
- รอบรู้เรื่องพืช ชนิด ประโยชน์ วิธีการเพาะปลูก วิธีดูแลรักษา
รอบคอบ
- การเอาใจใส่ ดูแลรักษาพืชที่ปลูก การลดน้ำ และให้ปุ๋ย
- วิเคราะห์ภาชนะ พืช และดินที่จะปลูกให้มีความเหมาะสม
- การเลือกเมล็ดพันธุ์
ระมัดระวัง
- การนำความรู้ไปใช้ให้เหมาะสมและถูกต้องกับกาลเทศะ
- วิธีป้องกันศัตรูพืชและโรคของพืช
- การเก็บเกี่ยวผลผลิตให้มีสภาพสมบูรณ์
- การนำไปบริโภค
เงื่อนไขที่ 2 คุณธรรม
ซื่อสัตย์ สุจริต
- การดูแลรักษาไม่ใช้สารเคมี
- การเลือกเมล็ดพันธุ์
- ทำโดยสุจริตใจ มีเจตคติที่ดีต่อการปลูกพืช
- สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
ขยัน
- หมั่นดูแลรักษา ให้ความเอาใจใส่ความรู้สึกให้กับพืช
- ขยันสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลง
- ขยันศึกษาหาความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ
อดทน
- การขยันอดในการปลูกพืชก่อให้เกิดความสำเร็จและความสุขได้เมื่อมีผลผลิตที่เป็น ประโยชน์ต่อตนเองและครอบครัว
แบ่งปัน
- ถ่ายทอดความรู้ที่ได้จากการปลูกพืชให้กับผู้อื่น
- แบ่งปันผลผลิตให้ผู้อื่น
- แบ่งปันความสุขให้ตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
สรุป
การดำรงชีวิตที่ดีควรจะมีความพอประมาณอย่างมีเหตุมีผลในการตัดสินใจ เกี่ยวกับการปลูกพืชผักสวนครัวต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอจนเป็นนิสัย นอกจากนี้ยังสามารถประยุกต์ความพอประมาณและเหตุผลไปใช้ในชีวิตประจำวันจนกลายเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีในตนเอง อันจะมีประโยชน์และคุณค่าต่อการดำรงชีวิตอย่างพอเพียงซึ่งเป็นหลักในการดำเนินชีวิตไปสู่ทางสายกลาง
เมื่อเราเข้าใจหลักทางสายกลางนี้ จึงสามารถนำหลักการนี้มาใช้กับทุกๆเรื่องของชีวิต ก็จะนำไปสู่เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ดีด้วย สิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้เกิดความสมดุล ความมั่นคงและยั่งยืน ต่อการใช้ชีวิต ทำให้เรามีชีวิตที่ดีขึ้นและมีความสุขกับสิ่งที่เราได้ทำ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
แนวทางบูรณาการ